อย่างที่ทราบกันว่าการเรียนจินตคณิตนั้นช่วยในเรื่องของการมีสมาธิได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะจะเห็นได้ชัดเจนจากเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นที่มักจะขาดทักษะหลายประการที่เด็กคนอื่นๆ มี เช่น การควบคุมตนเอง การคิดก่อนทำ การยับยั้ง ชั่งใจตนเอง ความรับผิดชอบ การบริหารเวลา และการมีวินัย อย่างที่งานวิจัยหลายงานยืนว่าสมาธินั้นมีความสัมพันธ์กับสมองหลายส่วน เช่น สมองส่วนหน้า ก้านสมอง ธาลามัสและลิมบิก สมองส่วนหน้า ซึ่งนอกจากมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดสมาธิ การปรับสมาธิและการคงสมาธิอย่างต่อเนื่องเหมาะสมแล้ว ยังเป็นสมองส่วนที่ควบคุมในเรื่องของ ความตื่นตัวในการเรียนรู้ ความพยายาม ความจำ การแสดงออก การมองเห็นวิสัยทัศน์ การมีเหตุผล การจัดระบบ การควบคุมอารมณ์รู้สึก การฝึกสมาธิจึงเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านอื่นๆเพื่อส่งผลให้การเรียนในอนาคตต่อไป
สมาธิสามารถสร้างได้หลายทางไม่ว่าจะเป็น การนั่งสมาธิ การกำหนดลมหายใจ และอื่นๆอีกหลายแบบแต่จะให้เด็กๆในช่วงวัยไมอยู่นิ่ง ชอบเคลื่อนไหวตลอดเวลาและสนุกสนานกับเรื่องรอบตัว นั้นให้มานั่งสมาธิอยู่นิ่งๆ หรือกำหนดลมหายใจนั้นคงจะเป็นเรื่องยากและเด็กๆหลายคนอาจจะไม่เข้าใจในเหตุผลว่าทำไมต้องปฏิบัติและทำตาม จินตคณิตจึงเป็นอีกทางเลือกของการเสริมสร้างพัฒนาการด้านนี้ให้กับเด็กๆ จริงๆแล้วการเรียนจินตคณิตเสริมสร้างพัฒนาการในด้านคณิตศาสตร์และอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น พัฒนาความสามารถในการคิดคณิตคิดเร็ว, การคำนวน, เสริมสร้างความจำ, สร้างความมั่นใจ และอื่นๆ การที่เด็กมีสมาธิจดจ่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นั้น ก็จะส่งผลให้เด็กมีกระบวนการเรียนรู้ที่ดี มีประสิทธิภาพ เป็นระบบอย่างต่อเนื่องและครบวงจร ทั้งในด้านทักษะการฟัง การคิด การพูด การเขียน การอ่าน หรือการทำกิจกรรมอื่นใดที่มีผลต่อการเรียนรู้นั้นๆ
Tips: นอกจาการเรียนจินตคณิตที่เป็นส่วนหนึ่งช่วยให้มีสมาธิโดยการจดจ่อในการคำนวนแล้ว วันนี้เรายังมี Tips ที่น้องๆสามารถสร้างสมาธิได้ในชีวิตประจำวันได้อย่างง่ายดาย
- ฝึกให้น้องๆได้ลองเขียนบันทึกประจำวันหรือเขียนอะไรที่พบเจอในแต่ละวันด้วยดินสอ และปากกา
- ฝึกให้อ่านหนังสือหรือบทความยาวๆ เป็นประจำ
- สอนให้ทำทุกอย่างให้ช้าลง เดินให้ช้าลง เคลื่อนไหวให้ช้าลง พูดให้น้อยลง สังเกตสิ่งรอบตัวให้มากขึ้น
- ชวนทำกิจกรรมที่มีความเปลี่ยนแปลงเช่น หาต้นไม้มาปลูกที่บ้าน รดน้ำ พรวนดิน และสังเกตความเปลี่ยนแปลงของต้นไม้
- อนุญาตให้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างเหมาะสม มีเวลาจำกัด และมีข้อแม้ในการใช้โซเชี่ยลมีเดียเช่น ต้องอ่านหนังสือหรือฝึกเขียนก่อน เป็นต้น
คณิตศาสตร์