fbpx

LIBRARY

รูปแบบการเรียนออนไลน์แบบไหนเหมาะสำหรับเด็กเล็ก

รูปแบบการเรียนออนไลน์แบบไหนเหมาะสำหรับเด็กเล็ก

ด้วยสถานการณ์ Covid 19 จึงทำให้การเรียนการสอนมีการเปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อทำให้มีการกระทบหลายๆ ภาคส่วนร่วมไปถึงการศึกษา ต้องมีการหยุดการเรียนการสอนในรูปแบบเดิมเป็นการเรียนออนไลน์ และมีการเลื่อนเปิดเทอมไปเลื่อยๆ แต่ด้วยสถานการณ์ยังไม่สามารถที่จะวางใจได้ 

 

แต่ในช่วงที่ได้ทดลองเรียนออนไลน์ ทำให้ได้เห็นปัญหามากมายทั้งเด็กนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ อยู่ในพื้นที่ไม่มีอินเตอเน็ตหรือในบางครอบครัวที่มีจำนวนอุปกรณ์สำหรับเรียนออนไลน์ไม่เพียงพอกับสมาชิกครอบครัวที่ยังอยู่ในวัยเรียน และปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย 

 

การเตรียมสำหรับการเรียนออนไลน์มีความจำเป็น เพราะที่สุดแล้วเราก็ยังไม่รู้ถสถานการณ์เรื่อง Covid 19 ในบ้านเราจะไปถึงจุดไหนก็ไม่สามารถที่จะคาดเดาได้ ฉะนั้นการเตรียมการไว้ก่อนจึงจำเป็น 

 

เด็กๆจะต้องเรียนออนไลน์แบบไหนถึงจะเหมาะสม ?

 

วงการการศึกษาปฐมวัยได้มีการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัยนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในเวลาเดียวกัน พยายามให้เด็กๆหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีในยามที่ไม่จำเป็น 

ข้อมูลที่มักจะถูกหยิบยกมาพูดถึงเสมอจาก The National Association for the Education of Young Children และ Fred Rogers Center for Early Leaning and Children’s Media at Saint Vincent College (NAEYC & the Fred Rogers Center, 2012) ยืนยันว่า การใช้เทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ ดีวีดี และเกม กับเด็กแรกเกิดจนกระทั่งถึง 8 ปี จะช่วยส่งเสริมพัฒนานาการของเด็กในส่วนของความคิด สติ ปัญญา และอารมณ์ แต่อย่างไรก็ต้องอยู่บนเงื่อนไขว่า จะต้องใช้อย่างถูกวิธีตามเหมาะสมของช่วงวัย 

 

การที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้กับเด็กนั้น จะต้องคำนึงถึง วิธีการเลือกเครื่องมือ และแอพพลิเคชั่น การใช้เทคโนโลยีจะต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดการค้นกว้า สร้างโอกาส  และต้องส่งเสริมให้มีการจินตนาการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง

 

ในกรณีที่เด็กใช้เทคโนโลยีไม่มีผู้ควบคุ้มดูแลของผู้ใหญ่ หรือใช้มากเกินไป รวมทั้งใช้ไม่เหมาะสมกับของวัยของตนเองก็อาจจะส่งผลเสียต่อพัฒนาการการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตของเด็กในด้านต่างๆ ได้ 

 

สิ่งที่ควรคำนึงถึงเรื่องของ เนื้อหา การเรียนออนไลน์ในเด็กเล็ก

 

1.เนื้อหาต้องสนับสนุนพัฒนาการเด็กให้มากขึ้น

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับเด็กปฐมนั้นต้องพิจารณาในหลักของความสอดคล้องกับหลักพฒนาการของเด็ก ผู้สอนต้องนำมาใช้ให้เหมาะสมให้มากที่สุด และต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบททางสังคมของเด็กด้วยและควรต้องบูรณาการกับเครื่องมืออื่นๆ ปรับลักษณะของการเสริมสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

2.เสริมสร้าง Cognitive Skill 

เนื้อหาจะต้องช้วยส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านสติปัญญาและทางสังคมควบคู่กันไป ซึ่งต้องมีความเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมสุขภาพ หรือรูปแบบการใช้ชีวิตของเด็ก เช่น พฤติกรรการกิน การนอน หรือการออกกำลัง ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา Cognitive skill โดยในปี 2016 Pooja S.Tandon และคณะ ได้รวบรวมองค์ความรู้ และผลการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวไว้ในบทความวิชาการเรื่อง “The relationship between physical activity and diet and young children’s cognitive development” ถือเป็นการวางกรอบความคิด Framework การศึกษาด้านพัฒนาการสนองที่มีความครอบคลุมปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเด็ก มีพฤติกรรมการใช้ชีวิต และนำมาซึ่งพัฒนาการทางสมองของเด็กที่ต่างกันไป

 

3.วัตถุประสงค์ของผู้สอนต้องชัดเจน

ผู้สอนต้องมีแบบแผนและวัตถุประสงค์ของเนื้อหาและส่ิงที่ต้องการให้เด็กเรียนรู้อย่างชัดเจน ผู้สอนจะต้องเป็นเสมือนเครื่องสนับสนุนการเรียนรู้ แต่ไม่ได้นำมามาใช้เป็นบทเรียน หรือ เป็น สาระความรู้ที่ผุ้เรียนต้องเรียนอย่างเคร่องเครียด แต่ต้องคำนึงถึงวัย และเลือกใช้สื่ออื่นๆ ประกอบการเรียนการสอนให้มีการบูรณาการให้เหมาะสมกับช่วงวัย

 

4.ครูและผู้ปกครองต้องอยู่ด้วย

คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ในด้านเทคโนโลยีต่างๆ เป็นเครื่องมือช่วยการเรียนรู้ การให้เด็กเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์จะต้องมีครูและผู้ปกครองอยู่ด้วยทุกครั้ง

พร้อมให้คำแนะนำระหว่างเรียนและใช้งาน

 

5.ซอฟต์แวร์ต้องเหมาะกับวัย 

การใช้ซอฟต์แวร์สำหรับเด็ก จะไม่เน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้เฉพาะเนื้อหาอย่างเดียวแต่ต้องสนุกกับการเรียนนั้นด้วย และต้องมีการใช้สื่อผสม (Multimedia) หมายถึง การใช้สื่อหลายๆแบบประกอบกันมีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพที่เคลื่อนไหวได้ มีเสียง

6.สร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนออนลไน์

สภาพแวดล้อมการเรียนด้วยเทคโนโลยีไม่ใช่เฉพาะการนั่งเรียนหน้าจอเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีกิจกรรมอื่นๆเสริมเข้ามารวมด้วยซึ่งผู้สอนจะต้องจัดขึ้นระหว่างการเรียนการสอน

 

7.ผู้สอนต้องยดหยุ่นในการสอน

สิ่งสำคัญอย่าให้เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอนานเกินไปหรือถ้าเด็กยังไม่พร้อมที่จะเรียนในช่วนั้น ผู้สอนก็ต้องยืดหยุ่นโดยการหากิจกรรมให้เด็กได้ผ่อนคลายก่อนที่จะเข้าบทเรียน พร้อมกับการสร้างแรงจูงใจ หรือปรับการเรียนการสอนให้มีความสนุกและมีส่วนมากขึ้น

 

ด้วยสถานณ์การปัจจุบันทำให้เด็กต้องอยู่บ้านเพื่อเรียนออนไน์และเป็นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆที่จะเปิดขึ้นได้มากขึ้น CMA Mental Arithmetic Thailand ได้คำนึกถึงความปลอดภัยจึงได้พัฒนาหลักสูตรจิตนคณิตสำหรับการเรียนออนไลน์ขึ้นมาเพื่อลองรับกับผู้สอน ทั้งนี้ทางสถาบันยังมีสื่อการสอนที่พร้อมให้การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่ออีกด้วย

 

การเรียนจินตคณิตในช่วงหยุดอยู่บ้านถือเป็นเรื่องดีมากๆ นอกจากที่ผู้สอนจะได้ฝึกการคำนวณและยังได้ฝึกสมาธิไปในตัวอีกด้วยซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่จะทำการเรียนวิชาอื่นๆ ของผู้เรียนมีการพัฒนาไปควบคู่อีกด้วย 

📍สนใจทดลองเรียนได้ที่

CMA (HQ) Central Plaza Ladprao : 02 937 2207-8

👉 More Information : www.cma.co.th

👉 Line official : https://line.me/R/ti/p/%40hvm3829n

CMA Kaset : 086 313 1015 

👉  Facebook : https://www.facebook.com/CMAKaset/

👉  Line : https://lin.ee/AG3UHx8

CMA Ratchaphruek : 02 448 5886 

👉  Facebook : https://www.facebook.com/CMARatchaphruek/

👉  Line : https://lin.ee/kR0FM15

CMA Chaengwattana : 090 263 5646 

👉  Facebook : https://www.facebook.com/CMAcentralchaengwattana/

👉  Line : https://line.me/ti/p/eyl3HLNmTY

CMA Ekkamai 086 824 5444 

👉  Facebook : https://www.facebook.com/CMA.Ekkamai/

👉  Line : https://line.me/ti/p/8l69_x3iyR

 

#cma #cmathailand #cmamentalarithmetic #mentalarithmetic #abacus #math #mathematic #mathforkids #funmath #tutor #tutormath #franchise #afterschoolprogram #ซีเอ็มเอ #จินตคณิต #ลูกคิด #ลูกคิด2มือ #คณิต #คณิตคิดเร็ว #คณิตศาสตร์ #เลข #คิดเลขเร็ว #คิดเลขในใจ #เรียนพิเศษ #พัฒนาสมอง #เรียนลูกคิด 

คณิตศาสตร์