fbpx

LIBRARY

8 เกมเสริมสร้างความรู้คณิตศาสตร์ จินตคณิต ในวัยเด็ก

8 เกมเสริมสร้างความรู้คณิตศาสตร์ จินตคณิต ในวัยเด็ก

8 เกมด้านคณิตศาสาตร์ จินตคณิต ที่เรานำเสนอในวันนี้ พ่อ แม่ ผู้ปกครองท่านใดที่ไม่ถนัดด้านคณิตศาสตร์ก็สามารถเล่นกับน้องๆได้อย่างหายห่วง ไม่ต้องกังวลว่าจะสอนผิดและไม่ยุ่งยากหาซื้ออุปกรณ์ สามารถเล่นได้ในชีวิตประจำวันได้ทุกวันทุกเวลา 

ทำไมถึงต้องเสริมสร้างทักษะทั้งที่ก็ต้องไปโรงเรียน? ก็เพราะว่าทักษะคณิตศาตร์ที่น้องๆควรจะมีก่อนเข้าเรียน คือการสังเกตุ การวัด การนับ รูปทรงและขนาด การแยกหมวดหมู่เป็นต้น การเสริมสร้างทักษะเหล่านี้ช่วยให้การเรียนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนของน้องๆสามารถพัฒนาได้เร็วอย่างก้าวกระโดด เมื่อมีทักษะพื้นฐานก็ทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายและมากยิ่งขึ้น 8 เกมนี้สามารถเล่นได้ที่บ้านไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมายและการจัดเตรียมที่ทำให้เสียเวลา มาดูกันเลยค่ะว่า 8 เกมที่ว่าเล่นแบบไหนกันบ้าง

1.ทำอาหาร

วิธีการเล่น การฝึก: ในช่วงเวลาเข้าครัวของคุณแม่ก็สามารถฝึกทักษะน้องๆด้านคณิตศาสตร์ได้ด้วยการให้ช่วยในการผสมอาหาร เช่น ชั่ง ตวง วัด ส่วนผสม

2.การสัมผัสรูปทรง

วิธีการเล่น การฝึก: เกมนี้คือการตัดกระดาษออกเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงสี่เหลี่ยม ทรงกลม ทรงสามเหลี่ยม จากนั้นให้สัมผัสขณะลืมตาจากนั้นค่อยปิดตาและให้น้องๆทายรูปทรงต่างๆ

3.ขนาดสิ่งของ

วิธีการเล่น การฝึก: ให้น้องๆสังเกตุขนาดของวัตถุรอบตัว เช่น สิ่งของชิ้นไหนใหญ่หรือเล็กกว่ากัน, สิ่งของชิ้นไหนใหญ่ที่สุด สิ่งของชิ้นไหนเล็กที่สุด

4.ภาพบอกเวลา

วิธีการเล่น การฝึก:ทำการ จับเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆในเวลาสั้นๆ เช่น ตักน้ำ เทน้ำ ย้ายของ จะช่วยให้น้องๆมีพัฒนาการรับรู้เรื่องเวลาและเข้าใจว่ากิจกรรมบางอย่างจะต้องใช้เวลามากกว่ากิจกรรมอื่นๆ

5.การร้องเพลงเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข

วิธีการเล่น การฝึก: ใช้เพลงที่เกี่ยวกับจำนวน ตัวเลขจังหวะทำนองการร้องซ้ำๆ เป็นสื่อเสริมทักษะในรูปแบบการจดจำในเรื่องของตัวเลขจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้

6.แยกรูปทรง

วิธีการเล่น การฝึก: ในชีวิตประจำวันเราจะพบกับรูปทรงต่างๆอยู่เป็นประจำใช้โอกาสนี้ฝึกหรือเล่นทายรูปทรงโดยชี้ไปยังรูปทรงต่างๆให้น้องๆตอบ เช่น ป้ายรูปสี่เหลี่ยม ป้ายจราจรต่างๆ

7.ความยาวของวัตถุ

วิธีการเล่น การฝึก: กิจกรรมนี้สามารถจัดเตรียมอุปกรณ์เพียงครั้งเดียวแต่สามารถเก็บไว้เล่นในครั้งต่อๆไปได้ โดยนำเชือก 1 เส้น ขนาดตามสะดวกมาตัด 3-5 ชิ้น โดยให้มีความยาวต่างกัน จากนั้นนำมาเล่นหาความยาว ชิ้นไหนสั้น ชิ้นไหนยาวหรือเรียงลำดับจากเส้นที่ยาวไปหาเส้นที่สั้น เส้นที่สั้นไปหาเส้นที่ยาว

8.สนามเด็กเล่น

วิธีการเล่น การฝึก: ในขณะที่น้องๆเล่นเครื่องเล่นในสนามนั้นมาสารถสอนการเปรียบเทียบได้ เช่น  การใช้ความสูงต่ำในกระดานหก ตำแหน่งบนล่างในชิงช้า เป็นต้น

แต่ละเกมไม่ยากและสามารถเข้าใจได้ง่ายซึ่งเด็กๆสามารถนำไปต่อยอดในการเรียน การใช้ชีวิตประจำวันได้อีกด้วยค่ะ

คณิตศาสตร์